คู่มือ

ตารางการตรวจเช็คอุปกรณ์สระว่ายน้ำ

อุปกรณ์ ในห้องปั๊ม / สระน้ำ การตวจเช็ค หมายเหตุ
ปั๊มน้ำ เก็บเศษ และ ทำความสะอาด ตะกร้าหน้าปั๊ม
ถังกรอง เกจน์ วัดแรงดัน ไม่เกิน 30 PSI ถ้าเกิน ให้ ล้างถังกรองทรายโดยการ Backwash
เครื่องเกลือ / เครื่องวัดค่า pH เช็คเกลือ และสารเคมีในถัง ให้อยู่ในเกณฑ์ของเครื่อง
สระน้ำ เก็บเศษใบไม้ และดูดตะกอนสระน้ำ

ความต้องการด้านบำรุงรักษาสระน้ำ โดยทั่วไป

การทดสอบ ค่ามาตรฐาน การปรับค่าเท่าที่จำเป็น
รายสัปดาห์ คลอรีนอิสระ 1.0-3.0 ppm เปิดปุ่ม Output ผลักขึ้นเพื่อเพิ่ม ผลักลงเพื่อลด หรือทำการเพิ่มลดเวลาในการปั๊มตัวกรอง
ค่า pH 7.2 – 7.6 หากค่าสูงเกินไป ให้เติมกรด Muriatic หากต่ำไปให้เติม โซดาไฟ
รายเดือน ระดับความเป็นด่าง 80 – 120 ppm เติม baking soda ถ้าต้องการเพิ่ม เติมกรดถ้าต้องการลด
เกลือ 2700 – 3400 ppm เติมเกลือ เมื่อจำเป็นต้องเพิ่ม
รายปี ค่ามาตรฐาน 60 – 80 ppm เติมกรดไซยานูริกเพื่อเพิ่ม
แคลเซี่ยม 200 – 400 ppm เติมแคลเซี่ยมเพื่อเพิ่ม ถ่ายและเติมน้ำใหม่เพื่อลด
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ตรวจสอบและทำความสะอาด ดูคู่มือ

รายละเอียดเพิ่มเติม ของการตรวจเช็คประจำวันของสระน้ำ

ในแต่ละวันควรจะมีการดูแลสระน้ำของท่าน อย่างสม่ำเสมอและใกล้ชิดเพื่อที่จะสามารถ แก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นได้ทันท่วงที โดยสามารถตรวจเช็คส่วนต่างๆได้ ดังนี้
1. ทดสอบค่า Br, Cl, pH ตอนเช้า 1 ครั้ง และก่อนปิดสระอีก 1 ครั้ง พร้อมปรับแต่ง คุณภาพของน้ำและเติมสารเคมีที่ขาดทันที
2. เช็คระดับน้ำในถังสำรองน้ำ SURGE TANK ให้มีเพียงพอตลอดเวลาพร้อมที่จะเดินเครื่องระบบกรอง ( ประมาณ 1 / 2 ของ TANK )
3. เช็คความดันที่เกจวัดความดันของเครื่องกรองว่าถึงเวลาล้างเครื่องกรองแล้วหรือยังพร้อมทั้งให้เปิดวาล็วไล่อากาศที่เครื่องกรอง ( AIR RELIEF VALVE ) ค่าแรงดันไม่เกิน 30 PSI
4. ดูดตะกอนพื้นสระทำความสะอาดบริเวณสระน้ำ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในสระ
5. เดินเครื่องระบบกรองตามตารางเวลา
6. ตรวจตำแหน่ง เปิด – ปิด ของวาล์วในห้องเครื่องให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง และอยู่ในสภาพที่ปกติ
7. ตรวจเช็คสารเคมีให้มีสำรองไว้ใช้อย่างพอเพียง เคมีของน้ำ ตารางด้านล่างนี้ทำการสรุประดับต่างๆ ที่แนะนำโดยผู้ประกอบวิชาชีพเกี่ยวกับสระน้ำและ สปา ( The Association of pool and spa Professionals: APSP )

สารเคมี ค่ามาตรฐาน
เกลือ 2700 – 3400 ppm
คลอรีนอิสระ 1.0 – 3.0 ppm
ค่าความเป็นกรดด่าง (pH) 7.2 – 7.6
กรดไซยานูริก (ตัวสร้างการเสถียร) 60-80 ppm (80 ดีที่สุด)
ภาวะความเป็นด่างรวม 80 – 120 ppm
ความกระด้างของแคลเซียม 200 – 400 ppm
โลหะ 0 ppm
ดัชนีความอิ่มตัว (-0.2) – 0.2 (0 ดีที่สุด)

การใช้ชุดทดลองน้ำ ( TEST KIT )

1. เอาน้ำใส่ในหลอดทดลองถึงขีดที่กำหนด (นำน้ำในสระที่ความลึกไม่น้อยกว่า 18 นิ้วจากผิวน้ำ)
2. หยดน้ำยา OTO ในหลอดที่เช็คคลอรีน (Cl ) 5 หยด
3. หยดน้ำยา PHENOL – RED ในหลอดที่เช็คความเป็นกรด – ด่าง ( pH ) 5 หยด
4. ปิดฝาและเขย่า
5. เทียบระดับสีในหลอด กับ แถบสีด้านข้าง แล้วอ่านค่า
6. ปริมาณคลอรีนในสระควรมีประมาณ 1.0 – 1.5 PPM (mg/1)
7. ค่า pH จะต้องอยู่ระหว่าง 7.2 – 7.6 ซึ่งค่า pH จะบ่งบอกสถานภาพของน้ำว่ามีความเป็นกรด หรือ ด่าง
8. ถ้าปริมาณคลอรีนต่ำให้เติมคลอรีนประมาณ 30-40 กรัมต่อปริมาณน้ำ 1 m³
9. ถ้าปริมาณคลอรีนในสระมากให้เติมน้ำในสระหรือปล่อยทิ้งไว้คลอรีนจะจางเอง
10. ถ้า pH ต่ำกว่า 7.2 แสดงถึงน้ำมีสภาพเป็นกรดให้ใส่โซดาแอซลงไปครั้งละประมาณ 30 กรัม ต่อปริมาณ น้ำ 1 m³ โดยนำโซดาแอซละลายในถังน้ำก่อน แล้วเทใส่ในสระและเช็คค่า pH อีกครั้งหลังจากใส่ลงไปแล้วประมาณ 4 ชม. (ระบบกรองน้ำยังคงทำงานอยู่)
11. ถ้า pH สูงกว่า 7.6 แสดงถึงน้ำมีสภาพเป็นด่างให้ใส่กรดแห้ง / กรดเกลือ ที่ใช้สำหรับสระน้ำ ใส่ไปครั้งละไม่เกิน 20 กรัมต่อน้ำ 1 m³ และเช็คอีกครั้งหลังจากใส่ลงไปแล้วประมาณ 4 ชม. (ระบบกรองน้ำยังคงทำงานอยู่)
12. ถ้าค่า pH ไม่ดีขึ้นควรเติมเคมีเพื่อปรับสภาพน้ำตามข้างต้นอีก และเช็คค่า pH อีกครั้ง ทำดังนี้จนได้ระดับค่าที่กำหนด
หมายเหตุ น้ำยาสำหรับชุดทดลองน้ำเพื่อทดสอบ pH จะหมดอายุภายใน 6 เดือน และควรเก็บไว้ในที่ไม่โดนแสงแดด

การดูแลรักษาอุปกรณ์สระน้ำ

อุปกรณ์ต่าง ๆ ของสระน้ำ ทั้งที่ติดตั้งภายในสระและรวมถึงอุปกรณ์ที่ติดตั้งภายในห้องเครื่องกรอง ล้วนแต่มีความจำเป็นที่จะต้องมีการดูแลและรักษาให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานพร้อมทั้งคงประสิทธิภาพและเมื่อเกิดการชำรุดเสียหาย ก็จะต้องซื้อหามาทดแทน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยทำให้ลดค่าใช้จ่ายได้ในระดับหนึ่ง อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ควรแก่การเอาใจใส่ดูแลประกอบด้วยรายการหลัก ๆ ดังนี้

1). เครื่องกรองน้ำ
ควรดูแลไม่ให้น้ำหยดหรือรั่ว ถ้าซ่อมแซมได้ให้รีบซ่อมแซมอย่าทิ้งไว้นาน ซึ่งจะมีผลทำให้เสียหายมากขึ้น ถ้าเป็นเครื่องกรองที่ทำด้วย STAINDLESS STELL ให้ทำความสะอาดและเช็ดให้แห้ง ถ้ามีคราบคล้ายสนิมเกิดขึ้นให้ใช้สก็อตไบรท์ชุบน้ำขัดจนสนิมหมด ทำความสะอาดและเช็ดให้แห้ง ถ้าเริ่มเป็นสนิมแล้วไม่ขัดออกก็จะกลายเป็นตามด ทำให้เครื่องกรองทะลุได้ ถ้าเป็นเครื่องกรองที่ทำด้วยไฟเบอร์กลาส หรือวัสดุใดที่ไม่ใช่โลหะให้ทำความสะอาดและเช็ดให้แห้งรวมทั้งใส่น้ำมันหล่อลื่นบริเวณน็อตและสายรัด

2). ปั๊มมอเตอร์
ควรตรวจเช็คปั๊มอย่าให้มีจุดรั่วหรือน้ำหยดเพราะเมื่อมอเตอร์ทำงานปั๊มจะดูดลมเข้าไปทำให้ปั๊มดูดน้ำไม่ขึ้น ปั๊มมอเตอร์จะร้อนทำให้ MECHANICAL SEAL ชำรุดและ ข้อต่อหน้าปั๊มหรือหลังปั๊มรั่ว ถ้าเป็นปั๊มที่ไม่ใช่โลหะ อาจทำให้อุปกรณ์ภายในร้อนจนละลายหรือตัวปั๊มเองชำรุดเสียหายได้

ถ้าการทำงานของปั๊มมอเตอร์ใช้นาฬิกาเป็นตัวควบคุมเวลาการทำงานให้หมั่นตรวจเช็ค โดยทดลองปิดปั๊มไว้สัก 30 นาที แล้วเดินปั๊มใหม่แล้วให้สังเกตุดูว่าดูดน้ำขึ้นหรือไม่ ถ้าไม่ขึ้นต้องหาสาเหตุและรีบแก้ไข อีกสิ่งหนึ่งที่จะลืมไม่ได้ก็คือ ตรวจดูว่าสายไฟที่ต่อเข้ากับมอเตอร์นั้นขันแน่นหรือไม่ ถ้าไม่แน่นอาจจะทำให้แผงไฟที่ตัวมอเตอร์หรือตัวมอเตอร์เองเกิดการใหม้ได้

การตรวจเช็คปั๊ม และ มอเตอร์

– ข้อต่ออยู่ในลักษณะที่ยังใช้การได้ดีหรือไม่ ถ้ารั่วให้แจ้งซ่อมโดยด่วน
– ขณะที่มอเตอร์ทำงาน ปั๊มสามารถดูดน้ำขึ้นได้หรือไม่
– เช็ดและทำความสะอาดมอเตอร์
– เอาขยะและใบไม้ออกจากตะกร้าสเตนเนอร์
– เอาจารบีใส่ที่น็อตสเตนเนอร์
– ใช้ CONTACT CLEANER ฉีดตรง CONTACT ของ MOTOR

3). อุปกรณ์ไฟฟ้า
– ตรวจเช็คน็อตที่ยึดต่อสายไฟให้แน่น
– ตั้งนาฬิกาที่ควบคุมการทำงานของปั๊มให้ตรงกับเวลาจริง
– อย่าให้มีน้ำขังในห้องเครื่องเพราะทำให้ภายในห้องเครื่องมีความชื้นสูงซึ่งจะทำให้
อุปกรณ์ไฟฟ้าเกิดชำรุดเสียหายได้
– ทำความสะอาดตู้ไฟ ทั้งภายในและภายนอก

4). อุปกรณ์ทำความสะอาดสระ
อุปกรณ์ทำความสะอาดที่เป็นพลาสติกห้ามทิ้งตากแดดเพราะจะทำให้อุปกรณ์เหล่านั้นมีอายุการใช้งานสั้นลงอันเนื่องมาจากแสงแดด ( ULTRAVIOLET ) เช่น สายดูดตะกอน , แปรงไนล่อน , แปรงถูตะไคร่ ฯลฯ ส่วนน้ำยาเช็คคลอรีน ( OTO ) และน้ำยาเช็คความเป็น กรด – ด่าง( PHENOL – RED) ของน้ำนั้นมีอายุการใช้งานประมาณ 6 เดือน คือควรจะเปลี่ยนน้ำยาทุก ๆ 5 เดือน เพื่อความแน่นอน

5). ห้องเครื่อง
ควรดูแลอย่าให้น้ำขัง และมีแสงสว่างเพียงพอ และหมั่นทำความสะอาดอยู่เสมอ รวมถึงมีการระบายอากาศที่ดีโดยอาจจะติดพัดลมดูดอากาศเพื่อช่วยในการถ่ายเทอากาศได้สะดวก